การจูนแก๊สระบบดูด (MIX)
วิธีการจูนแบบที่ 1
การจูนแก๊สระบบมิ๊กเซอร์ (MIXER) หรือเรียกอีกชื่อว่าการจูนแก๊สระบบดูดมารู้จักอุปกณ์ ที่จะทำการจูนด้วยวาวล์ หรือลิ้นปิดเปิด 3 ตัว คือ 1. สกรูเดินเบา (IDLE) 2. สกรูเซนซิทีฟ (SENSITIVE) 3. วาวล์กลางสาย หรือ พาวเวอร์วาวล์ (POWER VALVE)
หน้าที่ของอุปกรณ์
1. สกรูเดินเบา ทำหน้าที่จ่ายก๊าซขณะเครื่องยนต์ไม่มี LOAD หรือเดินเบา (คือไม่มี LOAD ในการขับเคลื่อน) การคายสกรูเดินเบาออกมามาก ก๊าซก็จ่ายมากให้รอบสูง การจ่ายก๊าซตรงจุดของสกรูเดินเบามาจากแรงดันในถังก๊าซหมุนเปิดปิดเท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้น
2. ตัวเซนซิทีฟ (SENSITIVE) ทำหน้าที่จ่ายก๊าซตามภาระ LOAD ต่างๆ ของเครื่องยนต์ โดยอาศัยความดันอากาศภายในท่อไอดี เช่น รถจอดอยู่เปิดแอร์ เครื่องยนต์รับ LOAD ความดันอากาศในท่อไอดีสูงขึ้นจากการเปิดแอร์ Sensitive จะจ่ายแก๊สตามแรงดันอากาศในท่อร่วมไอดี การจ่ายแก๊สของ SENSITIVE จ่ายตามรอบการ LOAD ของเครื่องยนต์ ในขณะที่สกรูเดินเบายังคงทำการจ่ายแก๊สอยู่ตามปกติ คือจ่ายแก๊สปริมาณคงที่ ถ้าหากสปริงที่ SENSITIVE อ่อน จะทำให้การจ่ายก๊าซจะออกมามาก สิ้นเปลืองก๊าซมากเกินความจำเป็น ดังนั้นการจ่ายก๊าซตรงจุด SENSITVIE เกิดจากแรงดูดของเครื่องยนต์ เยียบคันเร่งมากแรงดูดก็มากตาม ก๊าซก็จ่ายมากตามแรงดูด
3. MIXER คือตัวผสมอากาศเข้ากับเชื้อเพลิง MIXER มีลักษณะเป็นคอขอดที่มีขนาดรูคงที่ หากรถใช้ความเร็วสูง แต่คอขอดที่ MIXER มีขนาดรูเล็ก รูเล็กนี้จะขวางทางอากาศขณะที่ใช้ความเร็วสูง ทำให้มีอากาศน้อยลงทำให้ส่วนผสมไม่พอไปใช้งาน
4. วาวล์จ่ายก๊าซหลัก เรียกวาวล์กลางสาย หรือเรียกพาวเวอร์วาวล์ มีหน้าที่ควบคุมปริมาณของก๊าซที่ไหลเข้าเครื่องผสมก๊าซ (MIXER) การหมุนเข้า-ออก พาวเวอร์วาวล์สามารถกำหนดแรงดูดที่ไปทำให้หม้อต้มจ่ายแก๊สมาก หรือน้อยได้
การใช้งานพาวเวอร์วาวล์ เมื่อจูนเสร็จเรียบร้อยแล้ว พาวเวอร์วาวล์จะเป็นอุปกรณ์ที่อยู่คงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงปริมาณการไหลของก๊าซจากหม้อต้ม จากการเพิ่มรอบหรือลดรอบของเครื่องยนต์ ในขณะที่อุปกรณ์เดินเบา (IDLE) ก็เช่นกันเป็นอุปกรณ์ที่ให้การไหลของก๊าซคงที่ไม่เปลี่ยนแปลงตามรอบของเครื่องยนต์ส่วนตัว SENSITIVE จะเปลี่ยนตามแรงดูด เพราะตัว SENSITIVE เป็นสปริง จ่ายแก๊สออกมากหรือน้อยตามแรงดูดของเครื่องยนต์ เพราะฉะนั้นจะต้องหาตำแหน่งที่เหมาะสมของ SENSITIVE โดยการเปิดพาวเวอร์วาวล์ให้กว้างก่อนเพื่อให้แก๊สสามารถไหลเข้า MIXER ได้สะดวก (ตามข้อ 3 วิธีการจูนระบบดูด)
การทำงานของรอบเครื่องยนต์ หลักๆ มี 2 สถานะ คือ การทำงานที่อยู่ในรอบเดินเบา คือสตาร์ทรถขณะที่รถจอดเครื่องยนต์ทำงาน จะมีภาระโหลดหรือไม่มีก็ได้ การมีภาระโหลด เช่น การเปิดแอร์, การเปิดอุปกรณ์ไฟฟ้าทุกชนิด วิทยุ, ไฟหน้ารถ อื่นๆและสถานะที่สอง คือการทำงานของเครื่องยนต์ในรอบเร่ง คือการกดคันเร่งให้รถวิ่งไปได้ วิ่งช้าวิ่งเร็ว ก็อยู่ในสถานะรอบเร่งเพราะฉะนั้นรอบเร่งก็มีรอบเร่งที่ 1500 รอบ, 2000 รอบ, 2500 รอบ, 3000 รอบ, 3500 รอบ, 4000 รอบ หรือ 4,500 รอบตามขนาดของเครื่องยนต์ หรือสเปคการเร่งรอบเปลี่ยนเกียร์ของเครื่องยนต์แต่ละยี่ห้อ
เป้าหมายของการจูนแก๊ส คือจูนเพื่อให้แก๊สสิ้นเปลืองน้อยสุดได้กำลังมากที่สุด ทำให้อัตราส่วนเหมาะสมกับกำลังที่ทำได้
การปรับจูนต้องใช้ 2 คน คนหนึ่งเยีบบคันเร่ง (ระวังให้เกียร์รถอยู่ตำแหน่ง เกียร์ว่าง) อีกคนคอยปรับจูนที่วาวล์การจูนขณะเครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบา จัดให้เครื่องยนต์ต้องไม่มีภาระโหลดทางไฟฟ้าวิธีการจูนระบบดูด (MIXER) ขณะเครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบา รถยนต์ทำงานอยู่กับที่
1) ก่อนทำการจูนทุกครั้ง ต้องอุ่นเครื่องยนต์ให้ได้อุณหภูมิทำงานก่อน ให้พัดลมไฟฟ้าทำงาน หรือเข็มอุณหภูมิอยู่ใน ตำแหน่งทำงานปกติ
2) ดับเครื่องยนต์
3) เปิดวาวล์กลางสายให้กว้างไว้ก่อน โดยการหมุนวาวล์กลางสายออกประมา 3 รอบ หมุนให้ก๊าซออกมาก่อน (การ BACK FIRE เกิดจากส่วนผสมของอากาศกับเชื้อเพลิงบางมาก จนทำให้เกิดการจุดระเบิดด้วยตัวเองได้ คือ ไอดี สามารถสันดาปและจุดระเบิดด้วยตัวเองได้ วิธีการปรับก๊าซคือจูนให้ส่วนผสมไอดีหนาไว้ก่อน และค่อยปรับเบาลงมา)
4) หมุนสกรู SENSITIVE ตามเข็มนาฬิกา จนสุด สริงจะไปกดไดอะแฟลม ไดอะแฟลมจะไม่เปิด
5) หมุนสกรู เดินเบาคลายออก ~ 1/4 รอบ
6) จากนั้นทำการสตาร์ทเครื่องยนต์โดยการใช้ก๊าซ ถ้าไม่ติดให้คลายสกรูเดินเบา ออกมาอีก 1/4 รอบ แล้วทำการสตาร์ทอีกครั้ง ถ้าไม่ติดก็คลายออกไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสตาร์ทติดโดยคลายออกทีละ 1/4 รอบ
7) เมื่อเครื่องยนต์สตาร์ทติดเรียบร้อย และอยู่ในรอบเดินเบา (รอบเดินเบาตามปกติ ~800 + / - 50 รอบ / นาที ขณะนี้ SENSITIVE ไม่ได้จ่ายก๊าซออกมา เพราะว่าหมุนปิด SENSITIVE อยู่ ปิดสุดไปตามข้อ 4) ทำให้การใช้เชื้อเพลิงก๊าซขณะนี้ได้รอบเดินเบาเท่ากับการใช้ระบบเชื้อเพลิงน้ำมัน
8) หมุนสกรูเดินเบาเข้า จนรอบเครื่องยนต์ตกประมาณ 600 รอบ (เครื่องยนต์สั่น)
9) คลายสกรู SENSITIVE ออกจนกระทั่งรอบเครื่องยนต์อยู๋ในรอบเดินเบาปกติประมาณ 800 + / - 50 รอบ (คลาย SENSITIVE สปริงจะคายออก)
10) จากนี้เร่งเครื่องที่ 3,000 - 4,000 รอบ / นาที ให้นิ่งที่สุด (คือเยีบบเท้านิ่งไว้ แช่ไว้ที่รอบ 3,000, 3,500, หรือ 4,000 รอบ / นาที อย่างใดอย่างหนึ่ง ปกติจะให้เท้านิ่งอยู่ที่ 3,000 รอบ / นาที จุดนี้จะเป็นการหาจุด PEAK ของการจูนแก๊สระบบดูด (การหาจุด PEAK คือหาจุดสูงสุด ที่สามารถใช้ก๊าซได้อย่างสมบูรณ์ ไม่มากเกินไปหรือน้อยเกินไปโดยการเร่งรอบเครื่องให้นิ่งที่สุดที่ 3,000 - 4,000 รอบ / นาที ขึ้นอยู่กำลังสเปคของเครื่องยนต์ว่าให้กำลังดีที่สุดที่รอบเท่าไหร่ และขณะที่เท้าเยียบคันเร่งอยู่กับที่ที่ 3,000 รอบแล้ว ขณะจูน PEAK รอบเครื่องยนต์อาจขยับไปมาแต่เท้าต้องนิ่งอยู่กับที่ และเราอาจเห็นรอบเครื่องยนต์ตก หรือ เพิ่มขึ้น ไม่ต้องสนใจ ต้องคงเท้าไว้ที่เดิมที่ครั้งแรกเยียบเร่งรอบถึงจุด 3,000 รอบ / นาที่ ให้นิ่ง แล้วจึงปรับจูน และขณะปรับจูนเท้าต้องนิ่งอยู่กับที่เดิม)
11) หมุนวาวล์พาวเวอร์วาวล์ หรือเรียกวาวล์กลางสาย ตามเข็มนาฬิกา ให้รอบตก เมื่อรอบตกแสดงว่าแก๊สจ่ายไม่พอและหมุนพาวเวอร์วาวล์ทวนเข็มนาฬิกา รอบเครื่องยนต์จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น เพราะฉะนั้นให้หมุนพาวเวอร์วาวล์ทวนเข็มนาฬิกาเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ รอบเครื่องยนต์จะเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่ง ถึงจะหมุนพาวเวอร์วาวล์ทวนเข็มนาฬิกาเพิ่มขึ้น รอบก็จะไม่เพิ่มขึ้นอีกต่อไป นั่นหมายถึงปริมาณแก๊สมีมากเกินความต้องการของเครื่องยนต์ เครื่องยนต์จะเริ่มสั่นจนเกือบดับ แต่ต้องไม่หมุนพาวเวอร์วาวล์ทวนเข็มนาฬิกาจนเครื่องยนต์ดับจากตรงนี้ให้หมุนพาวเวอร์วาวล์กลับมา ตามเข็มนาฬิกา หมุนกลับไปหารอบสูงสุดก่อนที่เสียงรอบเครื่องยนต์จะเริ่มตก จุดที่เสียงเครื่องยนต์คำรามสูงสุดนั่นคือจุดพีค (PEAK)
12) ดังนั้นทบทวนการหาจุด PEAK โดยหมุนวาวล์กลางสายเข้าๆ ออกๆ หาจุดที่รอบเครื่องยนต์เร่งมากที่สุด คือเร่งสูงสุด โดยการคลายวาวล์กลางสายออกคลายออกจนกระทั่งเครื่องยนต์เกือบจะดับ เครื่องสั่น เมื่อหาจุดเร่งสูงสุดได้แล้ว ก็ให้หาจุดเดินเบาต่ำสุดโดยขันพาวเวอร์วาวล์เข้าตามเข็มนาฬิกา โดยให้รอบเครื่องยนต์เบาลงต่ำสุดจนรอบตกและเครื่องยนต์สั่น จากนั้นหมุนทวนเข็มนาฬิกากลับมาหาจุดที่รอบเร่งเครื่องยนต์ที่สูงสุด ก่อนที่รอบสูงสุดนั้นจะตกลงในขณะที่เยีบบคันเร่งที่ 3,000 รอบ หรือถ้ายังไม่แน่ใจให้หมุนพาวเวอร์วาวล์กลับไปมาจนได้ยินเสียงคำรามของเครื่องยนต์ เสียง 'วืด' ที่รอบสูงสุด จุดนี้คือจุด PEAK (ถ้าไม่หาจุดที่เดินเบาต่ำสุดเปรียบเทียบก็จะไม่ทราบแน่ชัดว่าจุดใดแน่ที่จะเป็นจุด PEAK การเร่งรอบจนเลยจุดสูงสุด กับเร่งหารอบจนเกือบต่ำสุด จะทำให้ได้ยินเสียงจุด PEAK ได้ชัดเจนกว่า)
การจูนโดยการทดสอบวิ่งบนถนน
13) ทดลองวิ่งรถโดยใช้เชื้อเพลิงแก๊ส
14) ถ้าอยากให้ได้กำลังทุกรอบการใช้งานของเครื่องยนต์ ให้คลายวาวล์กลางสายออกมาอีก 1 / 4 รอบ จากที่ได้ทำการปรับจูนในข้อ 12 แล้ว คือหลังจากที่ได้ตำแหน่งจุดพีคของรอบเครื่องยนต์แล้ว (ถ้าคิดว่าได้รอบและกำลังเครื่องยนต์แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องคลายออก แต่การคงระดับปริมาณแก๊สไว้ตามข้อ 12 ขณะที่รถวิ่งอาจจะไม่พอเหมาะเพราะข้อ 12 เป็นการหาจุด PEAK ขณะที่เครื่องยนต์ทำงานอยู่กับที่ เมื่อวิ่งรอบสูงจริงก๊าซ อาจจ่ายไม่พอหากไม่คลายวาวล์กลางสายออก 1/4 รอบ ก่อนการทดลองวิ่ง และถ้าหากเน้นประหยัด วิ่งไม่เร็วมากเท่าไหร ก็ให้หมุนวาวล์กลางสายทิศทางตามเข็มนาฬิกา 1/4 รอบ จากจุด PEAK คือเป็นการลดปริมาณจ่ายแก๊สลง
ลักษณะของอุปกรณ์
1) วาวล์กลางสายมีขนาดมาตรฐาน, ท่อ MIXER มีขนาด 22 มม. ขึ้นไป ถึง 38 มม. จุดที่วัดคือคอขอดด้านในมาตรฐานที่ใช้ทั่วไปสำหรับเครื่องยนต์ 4 สูบ ~24 - 28 มม. ถ้าเป็นเครื่องยนต์ขนาดใหญ่ CC มาก MIXER ก็จะใหญ่ขึ้นตามไป
2) MIXER บางแบบครอบตรงเรือนลิ้นเร่ง บางแบบติดอยู่ที่ท่อกรองอากาศ ขึ้นอยู่กับการออกแบบ
3) ถ้า PRESSURE สูง 2-3 BAR ไม่ดีกับรอบต่ำเพราะก๊าซจะไหลได้เองโดยไม่ต้องอาศัยการดูดของเครื่องยนต์ ก๊าซจะไหลเองโดยไม่จำเป็น
4) เครื่องยนต์ที่ใช้ระบบการทำงานแบบคาร์บูเรเตอร์ จะใช้งานก๊าซเป็นระบบดูด (MIXER)
5) เครื่องยนต์ที่ใช้ระบบการทำงานแบบ AIRFLOW SENSOR ควรใช้งานกับระบบหัวฉีด AIR FLOW METER จะเป็นตัววัดปริมาณอากาศ เมื่อทำงานรอบเดินเบาอากาศเข้าน้อย อาจทำให้ไอดีบาง อาจเป็นอันตรายขณะจูนหากใช้ MIXER
6) การเปลี่ยนหัวเทียนใหม่, การเปลี่ยนกรองอากาศใหม่ ต้องมีการปรับจูนการจ่ายก๊าซใหม่ ระยะการเปลี่ยนหัวเทียนให้เปลี่ยนทุก 20,000 กม. และการเปลี่ยนไส้กรองอากาศ ควรตรวจเช็ค เป่า หรือเปลี่ยนทุก 10,000 กม. กรองอากาศในระบบดูดจะดำเร็ว
7) ถ้ากรองอากาศตัน อากาศเข้าน้อย เครื่องยนต์จะดูดก๊าซเข้าไปมาก ก๊าซที่วิ่งได้ 10.0 กม. / ลิตร ความสิ้นเปลืองจะมากกว่าน้ำมัน ซึ่งเชื้อเพลิงน้ำจะอยู่ประมาณ 12 กม. / ลิตร
การจูนก๊าซระบบดูดวิธีที่ 2 ซึ่งมีลักษณะพื้นฐานการจูนคล้ายกัน
1. อุ่นเครื่องยนต์ให้ได้อุณหภูมิทำงาน
2. ดับเครื่องยนต์
3. หมุนวาวล์กลางสายออกประมาณ 3 รอบ (จ่ายก๊าซออกมา)
4. หมุนสกรูเดินเบา หมุนเข้าจนสุด (ปิดเลย)
5. หมุนสกรู SENSITIVE ออกมา ~ 3 - 4 รอบ
6. สตาร์ทเครื่องยนต์ ปรับรอบเดินเบาให้ได้ตาม SPEC ของเครื่องยนต์ เช่น 800 + / - 50 รอบ / นาที ขณะนี้แสดงว่า SENSITIVE จ่ายแก๊สออกมาเพียงตัวเดียว และสปริง SENSITIVE อยู่ในจังหวะอ่อนอยู่
7. หมุนสกรู SENSITIVE เข้าให้รอบเครื่องยนต์เดินเบา อยู่ที่ประมาณ 600 รอบ / นาที
8. คลายสกรูเดินเบาออกจนกว่ารอบเดินเบาจะเดินปกติที่ 800 + / - 50 รอบ / นาที
9. หาจุด PEAK เหมือนวิธีที่ 1 เร่งรอบเครื่องยนต์หมุนวาวล์กลางสาย เข้าๆ - ออกๆ หาจุด PEAK และดูอัตราการกินก๊าซ โดยปกติการใช้เชื้อเพลิงก๊าซของเครื่องยนต์ ปกติ ~ 8 - 9 / ลิตร
ความแตกต่างของการจูนอยู่ที่การตั้งค่าสกรู SENSITIVE และสกรูรอบเดินเบาหลังจากนั้นถ้าหากต้องการจูนแบบละเอียด ให้ปรับ SENSITIVE วาวล์ และ IDLE วาวล์ แบบละเอียดดังต่อไปนี้วิธีการปรับ SENSITIVE วาวล์แบบละเอียด
1. เปิด SENSITIVE วาวล์ ออกมามากหน่อย โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา เพื่อให้เครื่องยนต์จ่ายแก๊สได้พอ
2. ปิด IDLE วาวล์ วิธีการปิด IDLE วาวล์ค่อยๆ ปิด โดยการปรับไปพร้อมๆ กับ SENSITIVE วาวล์ เพื่อเลี้ยงไม่ให้เครื่องยนต์ดับ จนกว่าจะสามารถปิด IDLE วาวล์ได้หมด
3. เมื่อเปิด SENSITIVE วาวล์ตามข้อ 1. มาเรื่อยๆ รอบเครื่องยนต์จะนิ่งขึ้นเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งการจ่ายแก๊สจะหนาขึ้น หนาขึ้นจนเกินความต้องการของเครื่องยนต์ คือแก๊สเริ่มท่วม เครื่องยนต์ทำท่าจะดับ ให้รีบหมุน SENSITIVE กลับเข็มตามนาฬิกา เพื่อเลี้ยงไม่ให้เครื่องยนต์ดับ
4. หมุน SENSITIVE วาวล์ กลับตามเข็มนาฬิกาจนถึงจุดที่เครื่องยนต์เดินได้นิ่ง และให้ดูและจดจำรอบเครื่องยนต์ไว้ หรืออาจใช้ความรู้สึก ตรงจุดที่หมุน SENSITIVE กลับตามเข็มนาฬิกาแล้วเครื่องยนต์นิ่ง ตรงจุดนี้ถือว่าสามารถหาตำแหน่งของ SENSITIVE วาวล์ได้แล้ว จากนั้น
5. ให้หมุนปิด SENSITIVE ตามเข็มนาฬิกา เรื่อยมาจนกระทั่งรอบเครื่องยนต์เริ่มตกลงสัก 200-300 รอบ / นาทีนับจากจุดที่รอบเครื่องยนต์นิ่ง หรือหมุน SENSTIVE วาวล์ตามเข็มนาฬิกาจนรอบเครื่องยนต์เริ่มสั่น
หลังจากการหมุนปิด SENSITIVE จนรอบเครื่องยนต์เริ่มตกลง 200-300 รอบ / นาที การจ่ายแก๊สขณะนี้ลดลงขั้นตอนต่อไปคือปรับ IDLE วาวล์เพื่อให้จ่ายแก๊สเข้ามาเสริม ขณะที่รอบเครื่องยนต์ต่ำลง เพื่อให้เครื่องยนต์สามารถทำงานได้ในรอบต่ำ
วิธีจูน IDLE วาวล์แบบเหมาะสม
1. คลาย IDLE วาวล์ โดยการหมุนทวนเข็มนาฬิกา ออกมาเรื่อยๆ รอบเครื่องยนต์จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น คือแก๊สจ่ายเข้า MIXER เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นให้คลาย IDLE วาวล์ไปเรื่อยๆ รอบเครื่องยนต์ก็จะเพิ่มชึ้นไปเรื่อยๆ จนถึงจุดที่รอบเครื่องยนต์ไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้อีก และคลาย IDLE วาวล์ต่อไปอีกเพื่อหาจุดที่แก๊สจ่ายหนาเกิน จนรอบเครื่องยนต์จะตกอย่างไว เพราะการจ่ายแก๊สหนา ให้จำตำแหน่งที่รอบเครื่องยนต์เริ่มจะตกไว้
2. ลด IDLE วาวล์ โดยการหมุนตามเข็มนาฬิกา ลดจนรอบเครื่องยนต์เริ่มตก และให้จำตำแหน่งนั้นไว้
3. เมื่อได้ตำแหน่งของการเปิด และปิด IDLE วาวล์ ตรงจุดที่กำลังของเครื่องยนต์กำลังจะตกทั้งสองจุด ก็มาปรับให้ IDLE วาวล์อยู่ในตำแหน่งระหว่าง 2 จุดนี้และรอบเครื่องยนต์ยังนิ่งอยู่ ทั้งที่เปิดแอร์ และปิดแอร์ หรือทั้งมีหรือไม่มีภาระโหลดทางไฟฟ้าของรถยนต์
ปกติแล้วตำแหน่งที่เครื่องยนต์นิ่งตรงจุดที่ IDLE วาวล์ เปิดแอร์ กับปิดแอร์ หรือเปิดภาระทางไฟฟ้า กับปิดภาระทางไฟฟ้า จะอยู่คนละตำแหน่งกัน ดังนั้นจึงให้ปรับ IDLE วาวล์ไว้ที่ตำแหน่งกลางระหว่าง 2 จุดตามข้อ 3 ก็ใช้ได้แล้ว
เป้าหมายการจูนคือให้เครื่องยนต์นิ่งเมื่อมีภาระโหลดทางไฟฟ้า หรือไม่มีภาระโหลดทางไฟฟ้า และเครื่องสามารถทำงานได้ทั้งในสภาวะรอบเดินเบา และรอบเร่ง โดยมีอัตราส่วนผสมไอดีที่พอเหมาะ
จบการจูนแก๊สระบบดูดเท่านี้ ทุกท่านสามารถทดสอบได้ด้วยตนเองตามขั้นตอน และตามสภาพของเครื่องยนต์ของท่าน การปรับจูนอาจไม่จำเป็นต้องครบทุกขั้นตอน ถ้าหากสามารถปรับจูนได้ตามเป้าหมายแล้ว หรือมีความชำนาญแล้วก็อาจเลือกการปรับจูนวิธีที่ 2 เลยก็ได้ แล้วแต่ความถนัด
ปัญหาการจุดระเบิด
เรียนรู้ปัญหาของเครื่องยนต์ทีเกิดจาก ปัญหาของการจุดระเบิด
1. จังหวะการจุดระเบิดผิดพลาด หัวเทียนเกิดประกายไฟไม่สัมพันธ์กับความเร็วรอบของเครื่องยนต์ ทำให้เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง
2. การจุดระเบิดล่วงหน้ามากเกินไปทำให้เครื่องยนต์เกิดอาการเขก สั่นอย่างแรง มีเสียงดังจากการจุดระเบิด คล้ายเสียงโลหะแข็งๆ กระทบกัน และเป็นสาเหตุให้เครื่องยนต์เกิดความร้อนสูง
3. อุปกรณ์ฝาครอบจานจ่ายต้องไม่มีความชื้นเข้า ไม่แตกร้าว หัวโรเตอร์มีสภาพไม่เป็นสนิมมีรอยแตก ไม่มีไฟรั่ว ซึ่งทำให้ไฟแรงสูงไม่สามารถส่งไปถึงเขี้ยวหัวเทียนได้
4. สายไฟแรงสูงมีปัญหา สายไฟแรงสูงคือสายไฟที่ส่งกระแสไฟ 20,000-25,000 V ไปที่เขี้ยวหัวเทียน และปัญหาของสายไฟแรงสูงคือ แตกร้าว อาจได้ยินเสียงกระแสไฟลัดวงจรบริเวรฝาครอบฝาสูบ หรือขั้วที่เป็นโลหะด้านในตรงที่เสียบกับหัวเทียนเป็นสนิม หรือสายไฟแรงสูงขาดกลาง ทำให้สูบนั้นๆของเครื่องยนต์ไม่เกิดการระเบิดเครื่องยนต์สั่น กำลังของเครื่องยนต์ตก การตรวจสอบทำได้โดยวัดค่าความต้านทานของสายไฟแรงสูง เมื่อวัดด้วยโอมห์มิเตอร์แล้วมีความต่อเนื่องของสายไฟ และค่าความต้านทานได้ 25 กิโลโอมห์ (สายไฟแรงสูงที่ใช้ตัวนำไฟฟ้าเป็นคาร์บอน) แต่ถ้ามากกว่า 25 กิโลโอมห์ ต้องเปลี่ยนสายไฟหัวเทียนใหม่ (สายไฟแรงสูง)
5. ตรวจสอบการกระโดดของกระแสไฟแรงสูบแต่ละสูบ ว่ามีประกายไฟออกมาหรือไม่ ประกายไฟเป็นสีอะไร เส้นสีของประกายไฟแตก หรือเป็นเส้นเดียวคมชัด ตรวจสอบสายไฟแรงสูงทีละสูบโดยการดึงปลั๊กสายไฟแรงสูงออกจากหัวเทียน แล้วนำแท่งสายไฟแรงสูงจ่อใกล้กับฝาครอบฝาสูบ หรือกราวด์ของเครื่อง สตาร์ทเครื่องยนต์ ดูการกระโดดของกระแสไฟจากสายไฟแรงสูงลงกราวด์ว่ามีปัญหาอย่างใดหรือไม่ หรือสมบูรณ์ดี และพร้อมกับตรวจสอบการกระโดดของกระแสไฟแรงสูงที่เขี้ยวหัวเทียนทีละสูบ ด้วยการนำหัวเทียนออกจากฝาสูบ แล้วใส่เข้ากับสายไฟแรงสูง นำหัวเทียนไปจ่อใกล้กับกราวด์ของเครื่องยนต์ห่างจากกราวด์ประมาณ 1 ซม. สตาร์เครื่องยนต์แล้วตรวจดูการกระโดยของกระแสไฟแรงสูงว่าสมบูรณ์ หรือไม่มีกระไฟออกมาเลย เมื่อทำการตรวจสอบครบทุกสูบก็พอทราบได้ว่าสายไฟแรงสูง และหัวเทียนมีปัญหาอย่างใดหรือไม่ ถ้าไม่มีปัญหาผิดปกติ ก็หาความบกพรอ่งของเครื่องยนต์จากจุดอื่นๆ การหยิบจับ ถอด วาง สายไฟแรงสูง ต้องทำด้วยความระมัดระวังอย่างมาก เพราะว่าสายไฟแรงสูง หรือสายไฟหัวเทียน เปราะหักง่าย เนื่องจากตัวนำภายในสายไฟแรงสูงทำจากคาร์บอน ซึ่งแตกหักง่ายมาก ลักษณะการวางสายไฟหัวเทียนให้วางแนวยาว ห้ามหักงอ
6. ปัญหาของการจุดระเบิดอาจเกิดจากปริมาณกระแสไฟฟ้าในแบตเตอรี่น้อยเกินไป คือมีค่าต่ำกว่า 9 VOLT ซึ่งจะทำให้การทำงานของตัวสร้างกระแสไฟเพื่อการจุดระเบิด ไม่สามารถสร้างกระแสไฟเพื่อจุดระเบิดได้สมบูรณ์ ค่ากระแสไฟแรงสูงที่ออกมาน้อยคือมีค่าต่ำกว่า 20,000 VOLT อาจทำให้กระแสไฟที่กระโดดข้ามเขี้ยวหัวเทียนไม่สามารถกระโดยข้ามจากแกนกลางของเขี้ยวหัวเทียน ลงกราวด์ได้ เนื่องจากความหนาแน่นของไอดีในห้องเผาไหม้เป็นฉนวนกั้นกระแสไฟ หากกระแสไฟแรงสูงมีกำลังไม่พอ
ระบบการฉีดน้ำมัน
ระบบฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงอิเลคทรอนิกส์ (คือมีกล่องควบคุม ECU)
มี 2 แบบคือ 1 เรียกแบบ D-JETRONIC 2. เรียกแบบ L-JETRONIC ทั้ง 2 แบบมีไว้เพื่อให้หัวฉีดน้ำมัน ฉีดน้ำมันเข้าท่อไอดี ไปจุดระเบิด การออกแบบระบบการฉีดเชื้อเพลิงของหัวฉีด แตกต่างกันตามที่บริษัทผู้ผลิตรถยนต์ออกแบบ การฉีดเชื้อเพลิงของหัวฉีดปริมาณมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาการยกของเข็มหัวฉีด ถ้ายกนานปริมาณน้ำมันที่ฉีดออกมาจะมาก แต่ถ้าระยะเวลาการยกของเข็มหัวฉีดน้อยปริมาณน้ำมันที่ถูกฉีดออกมาเข้าท่อไอดีก็จะน้อยด้วย จำนวนน้ำมันที่ออกจากหัวฉีดมากหรือน้อยไม่ได้อยู่ว่าหัวฉีดยกสูงหรือยกต่ำ หัวฉีดทุกหัวทุกระยะความเร็วหัวฉีดทุกหัว มีระยะยกของหัวฉีดเท่ากันทุกสูบ ที่แตกต่างกันในแต่ละรอบความเร็วคือเวลาที่ใช้ในการยกว่ามากหรือน้อย นานหรือไม่นาน
การฉีดน้ำมันเชื้อเพลิงจะมากหรือน้อยใช้เวลาเป็นตัวบอกว่าหัวฉีดยกนานหรือไม่นาน ถ้าอย่างนั้นเวลาการยกของเข็มหัวฉีดมาจากไหน ที่มาของเวลาการยกหัวฉีดเชื้อเพลิงถูกคำนวนมาจาก 2 เงื่อนไข เงื่อนไขที่ 1 คือเวลาการฉีดพื้นฐานเงื่อนไขที่ 2 คือการเพิ่มเวลาการฉีดให้มากขึ้น มากกว่าระยะเวลาการฉีดพื้นฐาน เนื่องจากเครื่องยนต์ต้องการเชื้อเพลิงมากขึ้นเพื่อใช้เป็นพลังงานในการขับเคลื่อนรถไปตามคำสั่งของผู้ขับรถ เช่นการเร่งเครื่อง, การขึ้นเนินลงเนิน, การหยุดรถอย่างทันทีทันใด, หรือการเบารถขณะที่วิ่ง, หรือการจอดรถอยู่กับที่เครื่องยนต์ทำงานในรอบเดินเบา หรืออื่นๆ
การคำนวนหาระยะเวลาการฉีดเชื้อเพลิงพื้นฐานแต่ละแบบมีอุปกรณ์ที่แตกต่างกันดังนี้
ระบบการฉีดเชื้อเพลิงแบบ D-JETRONIC
ใช้การการตรวจจับสุญกาศด้วย VACUUM SENSOR และความเร็วรอบเครื่องยนต์ เป็นพื้นฐานในการควบคุมระยะเวลาการยกของหัวฉีดน้ำมัน จุดสังเกตุการฉีดเชื้อเพลิงเป็นแบบใด ดูได้จากอุปกรณ์ VACUUM SENSOR จะอยู่หน้าลิ้นเร่ง (ลิ้นปีกผีเสื้อ) คืออยู่ระหว่างกรองอากาศกับลิ้นเร่ง
ระบบการฉีดเชื้อเพลิงแบบ L-JETRONIC
ใช้การการตรวจจับปริมาณการไหลของอากาศด้วย AIR FLOW METER และความเร็วรอบเครื่องยนต์ เป็นพื้นฐานในการควบคุมระยะเวลาการยกของหัวฉีดน้ำมันจุดสังเกตุการฉีดเชื้อเพลิงแบบ L ดูได้จากอุปกรณ์ AIR FLOW METER จะอยู่หลังลิ้นเร่ง คืออยู่ระหว่าง ลิ้นเร่ง กับท่อร่วมไอดี
เมื่อเครื่องยนต์ต้องการเชื้อเพลิงมากขึ้นจากการใช้งานของผู้ขับรถ อุปกรณ์ต่อไปนี้จะร่วมกันทั้งหมดส่งสัญญานไฟฟ้าไปที่กล่อง ECU เพื่อให้ ECU คำนวนเพิ่มระยะเวลาการยกของหัวฉีดเชื้อเพลิง ให้มีปริมาณเชื้อเพลิงเข้าท่อไอดีมากขึ้นเพื่อใช้จุดระเบิดเพิ่มกำลังให้กับรถ (หรือหมายความว่าเพิ่มกำลังให้กับเครื่องยนต์) อุปกรณ์ทั้งหมดที่ใช้คำนวนการเพิ่มระยะเวลา
การฉีดเชื้อเพลิงคือ
1. อุปกรณ์มาตรวัดการไหลของอากาศ ในระบบ L และอุปกรณ์วัดสุญญกาศ ในระบบ D
2. อุปกรณ์ตรวจจับอุณหภูมิน้ำ (THW)
3. อุปกรณ์ตรวจจับอุณหภูมิอากาศ (THA)
4. อุปกรณ์ตรวจจับตำแหน่งลิ้นเร่ง (TPS)
5. อุปกรณ์ตรวจจับสัญญานสตาร์ท (STA)
6. อุปกรณ์ตรวจจับสัญญานความเร็วรอบของเครื่องยนต์ (สัญญาน NE)
อัตราส่วนปริมาณ เชื้อเพลิงกับอากาศ ปกติที่เครื่องยนต์ใช้ในการจุดระเบิด และเผาไหม้อย่างสมบูรณ์ที่สุดของเครื่องยนต์เบนซิน หรือเรียกเครื่องยนต์แก๊สโซลีน คือ 14.7 : 1 ปริมาณอากาศ 14.7 ส่วน ต่อปริมาณเชื้อเพลิง 1 ส่วน เป็นอัตราส่วนผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศ ที่ผู้ผลิตรถยนต์ต้องการให้เป็นอัตราส่วนนี้ในทุกระยะความเร็วรอบของเครื่องยนต์ จึงใช้อุปกรณ์ต่างๆส่งสัญญานไฟฟ้าไปที่กล่อง ECU เพื่อให้กล่องคอมพิวเตอร์ ECU คำนวนปริมาณเชื้อเพลิงให้ได้ตามสัดส่วนดังกล่าวโดยมีระยะเวลาในการยกของหัวฉีดที่แตกต่างกันตามความต้องการในแต่ละช่วงความเร็ว
เมื่อได้อัตราส่วนผสมของ อากาศ : เชื้อเพลิง (หรือเรียก ไอดี) แล้ว ลูกสูบก็จะทำการอัด ไอดี ดังกล่าวในกระบอกสูบ คือมีกระบอก และมีลูกสูบพร้อมก้าน ในกระบอกสูบ ลูกสูบทำการอัด ไอดี ภายในการบอกสูบ แบ่งพื้นที่ในกระบอกสูบเป็น10 ส่วน แล้วเอาลูกสูบอัด ไอดีในกระบอกสูบ ให้อยู่ในพื้นที่เหลือเพียง 1 ส่วน
บริเวณที่ไอดี ถูกอัดเข้าไปให้เหลือเพียง 1 ส่วน ที่อยู่ด้านบนสุดของกระบอกสูบ เรียกบริเวณส่วนนี้ว่า ห้องเผาไหม้ หรือพื้นที่จุดระเบิด ไอดีที่ถูกอัดขึ้นไป มีทั้งความร้อน มีทั้งอากาศ มีทั้งเชื้อเพลิง เมื่ออยู่บนพื้นที่จุดระเบิด มีประกายไฟแรงสูงจากหัวเทียนกระโดดผ่าลงไปในไอดี ทำให้ไอดีเกิดระเบิดอย่างทันที่ทันใด และมีไฟลุกไหม้ไอดีจากใกล้จุดตรงประกายไฟกระจายไปเป็นวงกว้างในพื้นที่ของห้องเผาไหม้เหนือกระบอกสูบ (เหมือนไฟลามทุ่ง คือไฟที่ไหม้ จะค่อยๆกระจายออกไปตามเชื้อเพลิงที่อยู่รอบๆ โดยไหม้เชื้อเพลิงที่อยู่ใกล้สุดก่อนแล้วจึงลามออกไป)
ลักษณะของการเผาไหม้จากการจุดระเบิดในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ ก็เหมือนกับการไหม้ของไฟทั่วไปคือค่อยๆลามออกไปหลังการจุดระเบิด ไม่ใช่เป็นลักษณะพอจุดไฟปุ๊ป เชื้อเพลิงระเบิดหายวับไป ถ้าจะเป็นแบบหายวับไปก็ต้องมีประกายไฟทั่วไปทุกโมเลกุลพร้อมกัน อย่างไรก็ตามเหตุการณ์นี้อาจเกิดขึ้นได้ในลักษณะที่ความร้อนสูงเกิดขึ้นในตัวเชื้อเพลิงมาก จนเชื้อเพลิงลุกไหม้เองได้โดยไม่ต้องอาศัยประกายไฟในการเผาไหม้ ที่พบในเครื่องยนต์เรียกว่าสถานการณ์นี้ว่า 'การชิงจุดระเบิด'
ระบบระบายความร้อนรถยนต์
ระบบระบายความร้อนรถยนต์
ปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับระบบระบายความร้อนรถยนต์
- เครื่องยนต์ร้อนจัด อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้
1. ระดับน้ำในหม้อน้ำต่ำเกินไป ควรตรวจระดับน้ำในหม้อน้ำทุก 3-4 วัน ต่อครั้ง หรืออย่างน้อยอาทิตย์ละ 1 ครั้ง เปิดดูฝาหม้อน้ำและ สังเกตุดูว่าน้ำในหม้อพักน้ำลดระดับลงหรือไม่ หากน้ำลดระดับลง ควรสังเกตุดูปริมาณน้ำที่หายไป แล้วเติมน้ำยาหม้อน้ำลงไปที่หม้อพักน้ำตามขีดสูงสุดที่กำหนดไว้ แล้วหาสาเหตุที่น้ำในหม้อพักน้ำขาดหายไป หรือแจ้งแก่ช่างให้หาสาเหตุและทำการแก้ไข
2. สายพานหย่อน ขาด ลื่น เป็นสาเหตุให้ความร้อนเพิ่มขึ้น และการระบายน้ำของหม้อน้ำไม่ดี
3. สนิมอุดตัน ในท่อน้ำและในหม้อน้ำ สนิมจับทางระบายน้ำร้อนในเสื้อสูบ และปั๊มน้ำเป็นสนิม ใบพัดที่ปั๊มน้ำแตก น้ำที่ใช้ระบายความร้อนหมุนเวียนไม่เต็มที่ ทำให้ความร้อนของเครื่องยนต์เพิ่ม
4. อากาศรั่วเข้าไปในระบบระบายความร้อนในหม้อน้ำ ทำให้การระบายไหลเวียนของน้ำในหม้อน้ำไม่ดี
5. เทอร์โมสตัด หรือสวิทช์ เปิดปิดการระบายน้ำร้อนไม่ทำงาน
6. ฝาปิดหม้อน้ำเสีย หรือเป็นสนิม ทำให้ระบบที่สร้างสุญญกาศในหม้อน้ำเสียไป ทำให้น้ำไม่ไหลวนความร้อนขึ้นสูงจะถึงอุณหภูมิน้ำเดือด น้ำหายไปจากหม้อน้ำ
7. ประเก็นฝาสูบรั่ว ทำให้น้ำในหม้อน้ำไหลลงเข้ากระบอกสูบ
8. จังหวะการจุดระเบิดล่าช้า และส่วนผสมไอดีบาง เป็นสาเหตุของเครื่องยนต์ร้อนจัดด้วยเช่นกัน เนื่องจากจังหวะการจุดระเบิดที่ไม่ถูกต้องทำให้การระบายความร้อนออกทางลิ้นไอเสีย ไม่เป็นไปตามจังหวะ ทำให้เกิดความร้อนสะสม
9. ระดับน้ำมันเครื่อง หรือน้ำมั้นหล่อลื่นต่ำกว่ากำหนด น้ำมันเครื่องนอกจากทำหน้าที่ในการหล่อลื่นเครื่องยนต์ และนำพาสิ่งสกปรกลงไปอยู่ที่ก้นอ่างน้ำมันเครื่องแล้ว ยังทำหน้าที่ในการระบายความร้อนด้วย หากปริมาณน้ำมันเครื่องไม่เพียงพอในการหล่อลื่น ก็จะทำให้การระบายความร้อนไม่สามารถระบายได้ดี และจะเกิดปัญหาที่เพลาข้อเหวี่ยง คือทำให้เกิดความร้อนสะสม ทำให้ชาร์ปละลายติดกับเพลาข้อเหวี่ยงได้
- ปัญหาเครื่องยนต์ร้อนจัดที่เกิดจากน้ำหล่อเย็นในหม้อน้ำขาด หรือหมด จะทำให้เกิดความร้อนสูงถึงขีดสุดจนฝาเสื้อสูบโก่งตัว แตก เสื้อสูบแตกเสียหาย
- ปัญหาเครื่องยนต์ร้อนจัดที่เกิดจากน้ำมันเครื่องขาด ไม่เพียงพอต่อการหล่อลื่นและระบายความร้อน ทำให้ชิ้นส่วนที่เคลื่อนไหวได้ภายในเครื่องยนต์ร้อนจัด จนทำให้ประเก็นละลายติดกับเหล็กเพลาข้อเหวี่ยง หรือลูกสูบติดกับเสื้อสูบ หรือเพลาลูกเบี้ยวติดไม่สามารถขยับเขยื้อนได้
โดยปกติดถ้าหมั่นดูแล น้ำในหม้อน้ำ และน้ำมันเครื่องอยู่เสมอ จะทำให้เครื่องยนต์สามารถอยู่ได้นานแสนนาน
ความร้อนเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เครื่องยนต์สามารถทำงานขยับเขยื้อนได้ ซึ่งจะเห็นว่าเครื่องยนต์จะทำงานได้ดีเมื่อถึงอุณหภูมิทำงาน หรืออาจสังเกตุจากเกจวัดความร้อนของเครื่องยนต์ขึ้นไปอยู่บริเวณตรงกลางหรือใกล้ตรงกลางของเกจวัดวัดร้อนเครื่องยนต์ บางครั้งในหน้าหนาว หรือตอนเช้าอาจมีปัญหาเรื่องการสตาร์ทเครื่องยนต์ เนื่องจากเครื่องยนต์ส่วนที่เคลื่อนไหวได้ต้องชนะแรงหนืดที่มีอยู่ภายในเครื่องยนต์ จึงสามารถทำให้ระบบอื่นๆ เช่นเพลารถหมุน เฟืองท้ายหมุน และความชื้นอาจเป็นปัญหาของระบบไฟฟ้าในรถยนต์ทำให้สตาร์ทติดยากได้เช่นกัน ดังนั้นปัญหาของเครื่องยนต์ที่อุ่นเครื่องช้า อาจเกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้
1. เทอร์โมสตัดเปิดค้าง ทำให้น้ำในเครื่องยนต์ไม่สามารถรักษาอุณหภูมิความร้อนได้ น้ำหล่อเย็นจะวนอยู่ตลอดเวลา
2. อากาศเย็นจัด
3. ไม่มีเทอร์โมสตัด
4. เทอร์โมสตัดเปิดที่อุณหภูมิต่ำ
การตรวจหาจุดบกพร่องของระบบระบายความร้อน
1. มองด้วยตาเปล่า หาจุดแตกร้าวตั้งแต่ คอหม้อน้ำ แถบฝาครอบหม้อน้ำทั้งด้านบน และด้านล่าง มองหาจุดรั่วแตกบริเวณกลางหม้อน้ำที่มีคลีบระบายความร้อน สังเกตุดูว่ามีน้ำรั่วออกมาหรือไม่ หรือมีรอบคราบน้ำที่รั่วแห้งติดอยู่กับหม้อน้ำหรือไม่ ให้สันนิษฐานว่าตรงบริเวณที่พบดังกล่าวมีการรั่วของน้ำ
2. ตรวจสอบด้วยตาเปล่า มองบริเวณจุดเชื่อมต่อทั้งหมดที่มีการเชื่อมต่อกับหม้อน้ำ
- ฝาปิดหม้อน้ำ มีน้ำรั่วออกมาหรือไม่ เนื่องจากปิดฝาหม้อน้ำไม่แน่น หรือฝาหม้อน้ำเสื่อมสภาพไม่สามารถสร้างสุญญากาศได้ ทำให้น้ำในหม้อพักน้ำไม่สามารถไหลเวียนกลับเข้าไประบายความร้อนในระบบได้
- แรงดันน้ำที่ออกจากหม้อน้ำไปหม้อพักน้ำ มีการรั่วหรือไม่ น้ำในหม้อพักน้ำเดือด หรือร้อนจัดเกินไปหรือไม่
- เข็มขัดรัดท่อน้ำไม่แน่นพอทำให้เกิดการรั่วไหลของน้ำหล่อเย็นบริเวณท่อยางด้านบน หรือด้านล่างของหม้อน้ำหรือไม่รวมทั้งปลายท่อทั้ง 2 ที่ต่อกับเครื่องยนต์ว่ามีการรั่วไหลของน้ำหรือไม่ นอกจากการไหลออกของน้ำอาจมีอากาศจากภายนอกถูกดูดไหลปนเข้าไปในระบบของน้ำหล่อเย็น ฟองอากาศที่ปนเข้าไปในน้ำหล่อเย็นทำให้เกิดแรงดันสูงเพิ่มขึ้นเมื่อน้ำไหลออกจากหม้อน้ำทำให้เครื่องยนต์มีความร้อนสูงขึ้น
3. เปิดฝาหม้อน้ำตรวจสอบขณะที่เครื่องยนต์ยังไม่ร้อนจัด หรือสตาร์ทรถใหม่ สังเกตุดูว่ามีฟองอากาศลอยขึ้นมาจากภายในหม้อน้ำหรือไม่ ถ้ามีฟองอากาศลอยออกมาสันนิษฐานได้ว่า ฝาสูบแตกมีน้ำรั่วซึมเข้าระบบน้ำหล่อเย็นหม้อน้ำฟองที่เกิดขึ้นมานั้นเกิดจากไอเสียหลังการจุดระเบิดปนเปื้อนเข้ามาในระบบน้ำหล่อเย็น ซึ่งจะเป็นสาเหตุให้เครื่องยนต์ร้อนจัด เกิดสนิมและตะกรัน ต้องรีบทำการแก้ไข
4. ร่องรอย คราบของน้ำบริเวณฝาสูบกับเสื้อสูบ มีรอบคราบน้ำหรือไม่ ถ้ามีปะเก็นระหว่างฝาสูบกับเสื้อสูบอาจมีจุดรั่ว