Bullbuck.Co.th

Save & Safe

หม้อต้ม หรืออุปกรณ์ทำไอก๊าซ

อุปกรณ์ทำไอก๊าซ  หรือเรียกอุปกรณ์ลดแรงดัน หรือเรียก หม้อต้ม

หม้อต้ม มีหน้าที่ลดความดันแก๊สทั้ง LPG และ NGV,  โดยหม้อต้มแก๊สของ LPG  และ NGV จะมีความแตกต่างกัน ใช้ร่วมกัน หรือใช้สลับกันไม่ได้ เพราะคุณสมบัติของหม้อต้มกับแก๊สแต่ละชนิด มีความสามารถในการลดแรงดันได้ไม่เหมือนกัน

ก๊าซ หรือแก๊ส มีคุณสมบัติที่ผันแปรโดยตรงระหว่างอุณหภูมิกับแรงดัน ถ้าอุณหภูมิต่ำแรงดันต่ำ ถ้าอุณหภูมิสูงแรงดันสูง  ค่าความดันหรือแรงดันของก๊าซ LPG มีค่าความดันจากถังที่ 120 ปอนด์ต่อตารางนิ้ว (PSI) ซึ่งไม่เหมาะในการไปใช้งานที่ท่อร่วมไอดี  ต้องทำการลดแรงดันก๊าซที่เหมาะสมก่อนที่ก๊าซจากถังจะมาถึงท่อร่วมไอดี ซึ่งอุปกรณ์ลดแรงดันก๊าซดังกล่าวคือ หม้อต้ม  ส่วน NGV มีแรงดันที่มาจากถังที่ 200 bar หรือ 3,000 ปอนด์/ตารางนิ้ว   เมื่อลดความดันลงอุณหภูมิจะยิ่งลดต่ำลง ทุกๆ 1 bar ที่ความดันลดต่ำลง อุณหภูมิจะลดลง ~3 องศาเซลเซียส โอกาสที่มีน้ำแข็งเกาะเมื่อลดความดันแก๊สลง   วิธีการลดความดันหรือแรงดันแก๊สลงคือ การทำหรือการขยายพื้นที่ให้กว้างขึ้น คือแก๊สที่ไหลจากถังโดยท่อทองแดงขนาด 6 มม. มีแรงดันในท่อสูง เมื่อมาถึงหม้อต้มที่มีพื้นที่ใหญ่กว่าท่อแก๊ส แรงดันจึงลดลง เหมือนการที่เอานิ้วมืออุดท่อน้ำไว้ แรงน้ำจะพุ่งแรงและไกล แต่เมื่อเอานิ้วมือออก แรงดันน้ำที่พุ่งออกไปจะลดลง

การลดแรงดันก๊าซ ขึ้นอยู่กับชนิดของการติดตั้งระบบก๊าซ ก๊าซ LPG ระบบดูด หรือ MIXER คืออุปกรณ์ในการผสมอากาศกับเชื้อเพลิง เช่นเดียวกันกับคาร์บูเรเตอร์แต่เชื้อเพลิงเปลี่ยนจากน้ำมันเป็นก๊าซแทน

ขั้นตอนการลดแรงดันหม้อต้มของก๊าซ LPG ระบบดูด (MIXER) มี 2 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1  แรงดันก๊าซ LPG มีค่าประมาณ 120 ปอนด์ / ตารางนิ้ว หรือเท่ากับ 7-8 bar ลดลงให้เหลือ 2-3 bar

ขั้นตอนที่ 2  ลดแรงดันก๊าซ จาก 2-3  bar ให้เหลือ เท่ากับความดันบรรยากาศ คือเท่ากับความดันบรรยากาศรอบๆตัวเรา ค่าความดันบรรยากาศมีค่าเท่ากับ 1 bar หรือ 14.7 ปอนด์ / ตารางนิ้ว ขั้นตอนที่ 2 จึงเท่ากับ ลดแรงดันก๊าซจาก 2-3 bar ให้เหลือ 1 bar เท่ากับแรงดันบรรยากาศ

ขั้นตอนการลดแรงดันหม้อต้มของก๊าซ LPG ระบบหัวฉีด (INJECTION) มี 1 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1  ลดแรงดันก๊าซจาก 8 bar ให้เหลือ 2-3 bar ที่หัวฉีด เพื่อฉีดเข้าห้องเผาไหม้

ขั้นตอนการลดแรงดันหม้อต้มของก๊าซ NGV ระบบดูด (MIXER) มี 3 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1  ลดแรงดันก๊าซจาก 200 bar ให้เหลือ 10 bar (ทุก 1 bar อุณหภูมิลดลง ~3 องศาเซลเซียส)

ขั้นตอนที่ 2  ลดแรงดันก๊าซจาก 10 bar ให้เหลือ 2-3 bar

ขั้นตอนที่ 3  ลดแรงดันก๊าซจาก 2-3 bar ให้เหลือเท่ากับความดันบรรยากาศ 14.7 ปอนด์ / ตารางนิ้ว หรือ 1 bar

ขั้นตอนการลดแรงดันหม้อต้มของก๊าซ NGV ระบบหัวฉีด (INJECTION) มี 2 ขั้นตอน

ขั้นตอนที่ 1  ลดแรงดันก๊าซจาก 200 bar ให้เหลือ 10 bar

ขั้นตอนที่ 2  ลดแรงดันก๊าซจาก 10 bar ให้เหลือ 2-3 bar ที่หัวฉีด เพื่อฉีดเข้าห้องเผาไหม้

การทำงานของเครื่องยนต์ 4 จังหวะ คือมีลูกสูบเป็นอุปกรณ์ดูดและอัดอยู่ในกระบอกสูบ การทำงาน 4  จังหวะที่ว่าคือ

1. จังหวะดูด คือดูดเชื้อเพลิงที่ผสมกับอากาศเรียบร้อยแล้วเข้าในกระบอกสูบ เชื้อเพลิงที่ถูกผสมเรียบร้อยแล้วเรียกว่า ไอดี

2. จังหวะอัด คือลูกสูบอัด ไอดี ขึ้นไปติดเพดานของกระบอกสูบ

3. จังหวะระเบิด คือจังหวะที่ไอดีถูกอัดที่เพดานของกระบอกสูบ มีแรงดันมากมีความร้อนสูงและมีหัวเทียนมาจุดประกายไฟ ทำให้เกิดการระเบิดของเชื้อเพลิง ไอดี ทำให้เกิดกำลังงานดันลูกสูบลง ทำให้แกนกลม หรือเพลาที่ยึดติดอยู่กับด้านล่างของลูกสูบหมุนรอบตัวเองอาจจะตามเข็มนาฬิกาหรือทวนเข็มนาฬิกา ขึ้นอยู่กับการออกแบบเครื่องยนต์ของบริษัทผู้ผลิตรถยนต์

4. จังหวะคาย คือเมื่อเกิดการระเบิดและการเผาไหม้จากจังหวะจุดระเบิด ก็มีไอไอเสียออกมาจากการเผาไหม้และไหลออกจากกระบอกสูบผ่านท่อไอเสีย

การเผาไหม้จะเกิดขึ้นได้ต้องมีองค์ประกอบครบ 3 อย่าง จึงจะเผาไหม้ได้ หากองค์ประกอบไม่ครบ การเผ้าไหม้ไม่สามารถเกิดขึ้นได้ องค์ประกอบทั้ง 3 อย่างคือ

1. ความร้อน จะเป็นความร้อน หรือประกายไฟก็ได้

2. เชื้อเพลิง น้ำมัน, ก๊าซ, อื่นๆ

3. อากาศ หรืออ๊อกซิเจน

ดังนั้นการทำงานของระบบดูด หรือเรียก MIXER ของก๊าซ LPG ซึ่งเมื่อออกจากขั้นตอนที่ 2 ในหม้อต้มค่าแรงดันของก๊าซมีค่าเท่า 1 bar  ซึ่งมี่ค่าเท่ากับแรงดันบรรยากาศรอบตัวเราเช่นกันที่มีค่าเท่ากับ 1 bar หรืออาจบอกได้ว่าไม่มีแรงดัน หรือมีค่าแรงดัน = 0 เพราะแรงดันก๊าซที่ออกจากหม้อต้มกับแรงดันอากาศ มีค่าเท่ากันการที่ก๊าซ LPG ที่ลดแรงดันแล้วจากหม้อต้ม จะไหลได้หรือเคลื่อนที่ได้ต้องอาศัยแรงดูดของเครื่องยนต์ในจังหวะดูดไอดี หรือก๊าซ LPG กับอากาศที่ถูกผสมกันแล้วด้วยอุปกรณ์ MIXER จึงจะสามารถไหลเข้าไปในกระบอกสูบได้ ถ้าหากไม่มีแรงดัน หรือแรงดูด ไอดีก็ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้เพราะมีค่าค่าแรงดันเท่ากับค่าแรงดันบรรยากาศ  (ความดันบรรยากาศ มีค่าเท่ากับ 14.7 ปอนด์ / ตารางนิ้ว หรือเท่ากับ 1 bar)

การใช้งานหม้อต้ม หรืออุปกรณ์ลดแรงดัน ต้องคำนึงถัง ขนาด CC ของเครื่องยนต์, ขนาดแรงม้าของเครื่องยนต์ โดยให้ดูแรงม้าของเครื่องยนต์เป็นหลัก ว่าสเปคของหม้อต้มกำหนดให้ใช้กับเครื่องยนต์แรงม้าเท่าไหร่ เช่นหม้อต้มกำหนด 140 HP คือระบุใช้กับเครื่องยนต์ไม่เกิน 140 แรงม้า, รถ 200 แรงม้าก็ใช้กับหม้อต้ม 200 แรงม้า

ลักษณะการจ่ายก๊าซของหม้อต้ม คือเครื่องยนต์มีแรงดูดเท่าไหร่ก็จ่ายเท่านั้น กำหนดจำนวนเชื้อเพลิงที่จ่ายออกจาก MIXER ได้ไม่แน่นอน ต่างจากหัวฉีดที่สามารถกำหนดให้จ่ายมากหรือน้อยได้

ส่วนประกอบของอุปกรณ์ลดความดันระบบดูด (MIXER) ก๊าซ LPG

1. โซลินอยด์ ขนาด 12 V.  หรือตามขนาดของแรงเคลื่อนไฟฟ้าในรถยนต์

2. ท่อน้ำ เข้า-ออก ขึ้นอยู่กับอุปกรณ์ลดแรงดัน (หม้อต้ม) ที่กำหนดมา อาจกำหนดทางน้ำร้อนเข้า และทางน้ำร้อนออก  หรือเข้าและออกได้ทั้ง 2 ทาง คือไม่กำหนดด้านการไหลของน้ำร้อนที่ชัดเจน

3. สกรูปรับรอบเดินเบา  ขณะที่เครื่องยนต์ติด  รอบเดินเบาจะทำงานจ่ายก๊าซให้รถ หรือเครื่องยนต์ทำงานอยู่ได้ ขณะที่ไม่ได้เปิดภาระโหลดใดๆ เช่นเปิดแอร์, หรือเข้าเกียร์, หรือเปิดภาระทางไฟฟ้าใดๆ เช่นเปิดวิทยุ เปิดที่ปัดน้ำฝน เปิดไฟหน้า ไฟหรี่ ไฟเลี้ยว  ภาระที่เปิดขึ้นทั้งหมดทำให้เครื่องยนต์ต้องทำงานเพิ่มมากขึ้น เครื่องยนต์จึงต้องใช้เชื้อเพลิงมากขึ้นตาม การใช้เชื้อเพลิงมากขึ้นทำให้ได้กำลังงานมากขึ้น  แรงดูดของเครื่องยนต์จึงมากขึ้นตามที่ภาระโหลดที่ใช้งาน

4. สกรู SENSITIVE ทำหน้าที่จ่ายก๊าซตามความต้องการของเครื่องยนต์ ตามโหลดการทำงานของเครื่องยนต์ โดยอาศัยแรงดูดจากเครื่องยนต์

5. ท่อแก๊สเข้า  (HIGH PRESSURE)

6. ท่อถ่ายขี้ก๊าซ

7. ท่อก๊าซออก (LOW PRESSURE) ใช้ท่อก๊าซแบบยืดหยุ่น

ตัวควบคุมการจ่ายก๊าซระบบดูด (MIXER)

1. ตัวควบคุมการจ่ายก๊าซแบบ OPEN LOOP คือใช้การควบคุมแรงดูดของเครื่องยนต์เพียงอย่างเดียวซึ่งประกอบด้วยอุปกรณ์

 - วาวล์กลางสาย (หรือเรียกตัวจ่ายก๊าซหลัก) จะติดตั้งอยู่ระหว่างอุปกรณ์ลดแรงดัน กับตัวผสมอากาศออกทางด้าน LOW PRESSURE ท่อยืดหยุ่น  คือวาวล์กลางสายจะอยู่ระหว่างหม้อต้ม กับตัว MIXER

 - อุปกรณ์ลดแรงดัน

 - อุปกรณ์ MIXER

2. ตัวควบคุมการจ่ายแบบ CLOSE LOOP เป็นระบบปิด คือมีการควบคุมการจ่ายเชื้อเพลิง 2 ลักษณะ

 - การควบคุมแบบกลไก (MIXER VARIABLE) คือเป็นแบบผันแปรตามแรงดันอากาศภายในท่อร่วม ไอดี

 

 

วาวล์วเครื่องยนต์

วาวล์ บ่าวาวล์

เครื่องยนต์ ถ้ามองรูปร่างของเครื่องยนต์ เป็นบล็อคสี่เหลี่ยม  สามารถมองได้เป็น 4 ชั้น จากบน ลงล่าง

เริ่มจากชั้นบน          เป็น       ฝาครอบวาล์

ชั้นที่ 2                   เป็น       ฝาสูบ

ชั้นที่ 3                   เป็น       เสื้อสูบ

ชั้นล่างสุด               เป็น       อ่างน้ำมันเครื่อง

เมื่อเปิดฝากระโปรงรถ จะพบกับฝาครอบวาวล์  คอยล์จุดระเบิด และอื่นๆที่เห็นจากภายนอก  ดังนั้นด้านบนสุดของเครื่องยนต์มองเห็น ฝาครอบวาวล์  เมื่อเปิดฝาครอบวาวล์ออก จะเห็น CAMSHAFT หรือเรียก เพลาราวลิ้นซึ่ง CAMSHAFT มีหลายแบบตามเครื่องยนต์เฉพาะแต่ละรุ่นแต่ละยี่ห้อ ซึ่งจะเห็นชุดที่ใช้กด เปิด-ปิด วาวล์ จากด้านบน คือจะเห็นเห็นตีน ก้านวาวล์ กระเดื่อง หรือถ้วย หรือแผ่นชิม  ที่ใช้ในการตรวจเช็คปรับตั้งระยะวาวล์ให้ได้ค่าความห่างของตีนวาวล์ในช่วงขนาดตามที่สเป็ครถแต่ละยี่ห้อกำหนด   จึงเห็นได้ว่าเมื่อเปิดฝาครอบวาวล์ออกมาแล้ว ชั้นที่เห็นคือฝาสูบ ซึ่งเป็นที่อยู่ของ CAMSHAFT คอยล์ หัวเทียนหัวฉีดน้ำมัน รางหัวฉีดน้ำมัน และเป็นที่ติดตั้งท่อ ไอดี ท่อไอเสีย และยังเป็นห้องจุดระเบิดอีกด้วย

ขณะที่ชั้นที่ลึกลงมา คือชุดของเสื้อสูบ ประกอบด้วยกระบอกสูบ ลูกสูบ แหวนลูกสูบ ชุดก้านชักลูกสูบ เพลาข้อเหวี่ยง ซีลหน้าเครื่อง ต่อกับพัดลม ปั๊มน้ำ ปั๊มน้ำมัน ซีลท้ายเครื่อง เป็นที่ต่อเข้ากับชุดเกี่ยร์ แร็คเพลาขับ พวกมาลัย

ส่วนชั้นล่างสุด คืออ่างน้ำมันเครื่อง เป็นที่รองรับน้ำมันเครื่องที่บรรจุเข้ามา และเมื่อเครื่องยนต์ทำงานและฉีดน้ำมันเครื่องขึ้นไปหล่อลื่นแต่ละส่วนที่มีโลหะเสียดสีกัน ขึ้นไปถึงชั้นบนจนไหลกลับมาลงที่อ่างน้ำมันเครื่องอีกครั้งในอ่างน้ำมันเครื่องจะมีปั๊มดูด-จ่าย น้ำมันเครื่อง ไปหล่อลื่นส่วนต่างๆ ภายในเครื่องยนต์ โดยส่งผ่านน้ำมันเครื่องผ่านรูที่เจาะขึ้นไปแต่ละส่วนภายในเครื่องยนต์  และก้านวัดน้ำมันเครื่องจากด้านบนเจาะผ่านมาลงในอ่างน้ำมันเครื่องเพื่อใช้ตรวจวัดระดับน้ำมันเครื่อง

เมื่อเครื่องยนต์แบ่งเป็นชั้นๆ จึ่งจำเป็นต้องมีซีล ประเก็น กาว เพื่อที่เป็นตัวเชื่อมต่อแต่ละชั้น ไม่ให้น้ำมันเครื่องรั่วออกมา หรือประกอบเข้ากันแต่ละชั้นไม่ให้โลหะของแต่ละชั้นชนกัน ประเก็นหรือซีล แต่ละชั้น จะมีลักษณะต่างกันเพื่อให้ทนได้กับน้ำมันเครื่อง ทนได้กับน้ำร้อน ทนได้กับแรงดันน้ำมันเครื่อง การสั่นสะเทือนของเครื่องยนต์  และประกอบทั้งหมดเป็นก้อนเดียวกันด้วยสกรู น๊อต 

วาวล์ หรือ ลิ้น เปิด - ปิด ไอดี ไอเสีย เป็นอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่ในชั้นของฝาสูบเครื่องยนต์  โดยแบ่ง ลิ้น ไอดี - ไอเสียเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่ง ด้านไอดี และฝั่ง ด้านไอเสีย ซึ่งแต่ละฝั่งจะอยู่ทางด้านหน้าของห้องเครื่องยนต์ คืออยู่หน้ารถหรือจะอยู่ด้านใกล้กับผนังห้องเครื่อง ขึ้นอยู่กับการออกแบบเครื่องยนต์แต่ละยี่ห้อ

เครื่องแต่ละขนาดจะมีจำนวนลูกสูบแตกต่างกันไป เช่น 4สูบ 6สูบ 8สูบ หรือ 12สูบ ส่วนวาล์ที่ใช้ในการเปิดปิดไอดี ไอเสีย ก็อาจมีจำนวนที่แตกต่างกันไปตามแบบของแต่ละยี่ห้อ เช่น 4 สูบ 16 วาวล์ 4 สูบ 8 วาวล์ หรือ 4 สูบ 4 วาวล์  โดยที่วาวล์ ไอเสีย อาจมีสูบละ 1 วาวล์ หรือสูบละ 2 วาวล์ แล้วแต่การออกแบบ ส่วนวาวล์ไอดีอาจมีสูบละ 1 วาวล์ 2 วาวล์ ก็ได้เช่นกัน

หัววาล์ไอดี จะมีขนาดใหญ่กว่า หัววาวล์ไอเสีย ที่หัววาวล์ไอดีใหญ่กว่าหัววาวล์ไอเสีย คือรูของด้านไอดีใหญ่กว่ารูด้านที่ไอเสียออก เพื่อให้ ไอดี เข้าห้องเผาไหม้ได้อย่างรวดเร็วเพราะรูเข้ามีขนาดกว้าง ขณะที่ขนาดของรูหัววาวล์ด้านไอเสีย จะมีรูขนาดเล็ก เพื่อรักษาความร้อนภายในห้องเผาไหม้ ไม่ให้สูญเสียความร้อนมากเกินไป แต่ขนาดของรูด้านไอเสีย ก็มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง กว้างพอที่สามารถระบายไอเสียได้หมด ในแต่ละวงจรการทำงานของเครื่องยนต์

ไอดี คือ การผสมของเชื้อเพลิงกับอากาศ เชื้อเพลิง อาจเป็น น้ำมันกับอากาศ หรือ ก๊าซกับอากาศ โดยมีส่วนผสมที่พอเหมาะ เหมาะสมต่อการเผาไหม้และจุดระเบิด ลักษณะ ไอดี เมื่อเข้าห้องเผาไหม้ จะมีลักษณะเป็นก๊าซ ไม่อยากเรียกว่าเป็นละอองไอดี เพราะถ้า ไอดี มีลักษณะเป็นละอองน้ำมันผสมกับอากาศ การจุดติดไฟจากหัวเทียนทำได้ยาก การเผาไหม้ไม่สมบูรณ์ ลองนึกถึงการจุดไม้ขีดไฟ เพื่อจุดติด ละอองน้ำมัน กับจุดติดเชื้อเพลิงที่มีลักษณะเป็นก๊าซ อย่างไหนจุดติดไฟได้ง่ายกว่ากัน ถ้าตัว ไอดี เป็นละออง การจุดติดไฟยาก เกิดเป็นควันดำเนื่องจากการเผาไหม้ไม่สมบูรณ์

ส่วน ไอเสีย คือ ผลจากการเผาไหม้ ไอดี หรือผลจากการจุดระเบิด ไอดี แล้วออกมาทางด้านท่อไอเสีย ถ้าการเผาไหม้ที่ออกมาทางด้านท่อไอเสีย เป็นการเผาไหม้ที่สมบูรณ์ จะมีหยดน้ำออกมาที่ปลายท่อไอเสีย สมบูรณ์คืออัตราส่วนผสมของเชื้อเพลิง น้ำมันต่ออากาศ พอดี ความร้อนจากการสปาร์ค ของหัวเทียนดี ทำให้เกิดการเผาไหม้ที่สมบูรณ์จนสามารถกลั่นตัวเป็นหยดน้ำได้ แต่ถ้าหากส่วนผสมที่ว่ามาทำให้เกิดการเผาไหม้ไม่สมบุรณ์ ก็จะเกิดเป็นควันดำ หรือไม่เกิดหยดน้ำที่ปลายท่อไอเสีย อย่างนั้นก็ตามเครื่องยนต์ก็ยังสามารถทำงานได้

เมื่อรถถูกใช้งานหนัก คือวิ่งทั้งวัน หรือเครื่องยนต์ทำงานแต่จอดรถอยู่กับที่นานมากๆ ทุกวัน เครื่องยนต์จะเกิดความร้อนสูง ถ้ารถวิ่งอยู่ การระบายความร้อนจากอากาศที่รถวิ่งผ่าน ก็ช่วยระบายความร้อนได้ แต่ถ้าหากรถจอดอยู่กับที่ การระบายความร้อนทำได้แค่ใช้น้ำจากหม้อน้ำระบายความร้อน กับพัดลมหน้าหม้อน้ำช่วยระบายความร้อนเท่านั้น การระบายความร้อนของเครื่องยนต์ขณะจอดก็จะไม่ดี แต่ก็ไม่เป็นปัญหา ถ้าอุปกรณ์ในการระบายความร้อนของเครื่องยนต์ทำงานได้ดี ความร้อนของเครื่องยนต์ก็ยังคงอยู่ในความควบคุม คืออุณหภูมิทำงานของเครื่องยนต์จะอยู่ประมาณที่ 80-95 องศาเซลเซียส แต่ถ้าเมื่อใดก็ตามอุณหภูมิของเครื่องยนต์มากเกินไปน้ำในหม้อน้ำจะเดือดและดันน้ำออกจากหม้อน้ำไปสู่ หม้อพักน้ำ แต่ถ้าน้ำอุณหภูมิถึง 100 องศาเซลเซียส น้ำก็มีสภาพกลายเป็นไอน้ำ น้ำก็จะแห้งหม้อน้ำ แห้งจากเครื่องยนต์ นั่นหมายความว่าน้ำที่หายไปจากเครื่องยนต์ที่เกิดปัญหาจากการรั่วของท่อน้ำ หม้อน้ำรั่ว ปัญหาการการโก่งงอ การแตกร้าวของฝาสูบเสื้อสูบแล้ว น้ำในเครื่องยนต์ก็อาจหายจากกรณีที่เล่ามา คือจากการใช้งานเครื่องยนต์หนักทั้งวันโดยมีอุปกรณ์ระบายความร้อนของเครื่องยนต์ที่อาจมีปัญหาคือใกล้เสีย เฃ่น ฝาหม้อน้ำ ที่หลายคนคิดว่าเป็นเหมือนฝากระป๋อง คือใช้ปิดหม้อน้ำไม่ให้น้ำออกซึ่งก็จริง แต่ถ้าจริงยิ่งขึ้นคือ

- ฝาหม้อน้ำเป็นฝาปิดที่ควบคุมแรงดันน้ำร้อนได้ เมื่อควบคุมแรงดันน้ำร้อนในหม้อน้ำได้ก็ควบคุมอุณหภูมิน้ำร้อนในหม้อน้ำได้เช่นกัน 

- อุปกรณ์ต่อมาที่เกี่ยวกับการควบคุมอุณหภูมิน้ำร้อนของหม้อน้ำคือ ปั๊มน้ำของเครื่องยนต์ ต่อมาคือ วาวล์น้ำของเครื่องยนต์

- และหม้อน้ำฝ่ามีการอุดตันของหม้อน้ำหรือไม่ มีการอุดตันระหว่างท่อทางการระบายน้ำภายในเครื่องยนต์หรือไม่

- ใช้น้ำยาหม้อน้ำที่มีสีส้ม สีเขียว ต่างๆ ในหม้อน้ำหรือไม่ น้ำยาหม้อน้ำเป็นตัวช่วยในการระบายความร้อนได้ดี

- และที่ไม่ควรพลาดไปคือพัดลมหน้าหม้อน้ำ พัดลมแอร์รถยนต์ ทำงานหรือไม่ ทำงานได้ดีหรือไม่ ถ้าพัดลมพัดอ่อนๆ แรงไม่มี การระบายความร้อนเครื่องยนต์ก็มีปํญหาแน่นอน

และก็มาเข้าเรื่องเกี่ยวกับวาวล์เสียที คือเมื่อเครื่องยนต์ร้อนจัด ปัญหาของวาวล์ คือ หน้าวาวล์ กับ บ่าวาวล์ จะสึกเร็ว ให้เห็นภาพง่ายคือ เอาเหล็กร้อน 2 ชิ้นมาตีกันตลอดเวลา สิ่งที่เกิดขึ้นชัดเจนจากเหล็กร้อน คือเหล็กมีสภาพอ่อน และเมื่อตีกัน เกิดการสึกหรอ บิดงอได้ง่าย แตกหักง่าย นั่นคือโอกาสที่วาวล์ กับ บ่าวาวล์ ซึ่งกระแทกกันตลอดเวลาขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน และร้อนจัด จะเกิดการสึกหรอได้ง่าย  ดังนั้นเพื่อให้การทำงานของ วาวล์ กับบ่าวาวล์ ได้ดี คือ เมื่อวาวล์ เปิด-ปิด ได้โดยไม่ติดขัด ปิดสนิท จึงต้องมีการตรวจเช็คปรับตั้งระยะห่างของตีนวาวล์ทุก 40,000 กม. ซึ่งปกติคู่มือตรวจเช็คระยะของศูนย์รถยนต์ จะมีกำหนดการตรวจเช็คบำรุงรักษาตรวจเช็คปรัปตั้งระยะวาวล์ ไว้อยู่แล้วทุก 40,000 กม. ผลที่ได้คือทำให้ ไอดี จะอยู่ในสภาพการเผาไหม้ที่เหมาะสมได้ตลอดเวลาและไอเสียที่ออกทางด้าน วาวล์ไอเสีย จะระบายไอเสียและความร้อนจากไอเสียได้ดี ผลจากการเผาไหม้ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ไม่เป็นมลพิษในอากาศแต่ถ้าวาวล์เกิดมีปัญหา ปิดไม่สนิท หรือบ่าวาวล์สึก ตีนวาวล์สึก จะเกิดอะไรขึ้น  สิ่งที่จะเกิดขึ้นคือ การระบายความร้อนทางด้านไอเสีย ทำได้ไม่ดี ไม่ทัน เกิดการสะสมความร้อนในห้องเผาไหม้ภายหลังการจุดระเบิด ปัญหานี้เกิดจากวาวล์ด้านไอเสีย มีปัญหา ตีนวาวล์สึกหรอ บ่าวาวล์ด้านไอเสียสึก การขึ้นลงของก้านวาวล์ติดขัด

ส่วนถ้าวาวล์ทางด้านไอดี มีปัญหา ตีนวาวล์สึกหรือ บ่าวาวล์สึก ปัญหาคือ ไอดีที่เข้ามาในห้องเผาไหม้อาจมีมากเกินไป น้อยเกินไป ไอดีเข้าในห้องเผาไหม้เร็วไป เข้ามาช้าเกินไป ไอดีเข้ามามาก หรือน้อยจนทำให้จำนวนไอดีในห้องเผาไหม้มีไม่พอดี ไม่เหมาะสมต่อการจุดระเบิด ทำให้เครื่องยนต์ทำงานได้ไม่ดี จนเกิดอาการกระตุกเครื่องยนต์สั่น ควันดำ รถไม่มีกำลัง คือเครื่องยนต์ไม่มีกำลัง เวลาขับรถรู้สึก รถวิ่งอืด

ลักษณะปัญหาของวาวล์กับบ่าวาวล์ที่ว่ามานี้ ทำให้เกิดปัญหา 2 ลักษณะ คือวาวล์ยัน กับวาวล์ห่าง ซึ่งเป็นสาเหตุให้ต้องมีการตรวจเช็คปรับตั้งระยะวาวล์ ทั้งไอดี และไอเสีย ทุก 40,000 กม.

- วาวล์ห่าง เครื่องยนต์จะมีเสียงดัง แต๊กๆๆๆ เหมือนเครื่องยนต์เขก สาเหตุการเกิดวาวล์ห่าง จากการที่ตีนวาวล์สึก ทำให้เกิดการเปิดปิดลิ้นหรือเรียกว่าวาวล์ ไม่ว่าจะเป็นทางด้าน ไอดี หรือไอเสีย ผิดปกติ คือทำให้วาวล์เปิดข้า ปิดเร็ว 

- วาวล์ยัน เครื่องยนต์สั่น รถไม่มีกำลัง วาวล์ปิดไม่สนิท ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้กับทั้งวาวล์ไอดี และวาวล์ไอเสีย ถ้าวาวล์ไอดียัน จะมีไอดีเหลือหลังจากการจุดระเบิด ไหลออกจากห้องเผาไหม้ทางด้านวาวล์ไอเสีย และถ้าวาวล์ยันจน ก้านวาวล์ขดงอ เมื่อลูกสุบยกตัวสูงสุด หัวลูกสูบอาจไปชนกับ หัววาวล์ที่ดันลงในห้องเผาไหม้จนดันให้ก้านวาวล์ขึ้นไปชนกับ (camshaft)  เพลาราวลิ้น จนก้านวาวล์คองอ และชุดกดวาวล์เสียหายไม่ว่าจะเป็นชุดกระเดื่องกดวาวล์ ชุดถ้วยกดวาวล์ หรือชุดที่ใช้แผ่นชิมวาวล์ ขึ้นอยู่กับแต่ละรุ่นของรถที่ใช้อุปกรณ์ในการกด เปิด-ปิด วาวล์ ไอดี ไอเสีย

โอกาสในการเกิดความเสียหายกับ วาวล์และบ่าวาวล์ จะเกิดทางด้าน ไอเสีย ได้ง่ายกว่า ทางด้านไอดี เนื่องจากวาวล์ทางด้านไอเสีย รับความร้อนจากการเผาไหม้ซึ่งมีอุณหภูมิสูง  

 

 

 

 

ควันขาว ควันดำ

ควันขาวรถยนต์ สาเหตุจากอะไร เป็นควันขาวได้อย่างไร

ควันขาวเกิดจากการมีน้ำมันเครื่องหลุดเข้าไปในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ แล้วถูกเผาไหม้ผสมไปกับเชื้อเพลิงน้ำมัน หรือเชื่อเพลิงแก๊ส ออกเป็นควันขาวที่ปลายท่อไอเสีย

น้ำมันเครื่องหลุดเข้าไปในห้องเผาไหม้ของเครื่องยนต์ได้อย่างไรมองดูภาพของเครื่องยนต์

 

น้ำมันเครื่องเข้าห้องเผาไหม้ได้ อาจเกิดจากสาเหตุต่อไปนี้

1. ลูกสูบ เสื้อสูบ หลวม เกิดช่องว่างระหว่างลูกสูบกับกระบอกสูบ แหวนกวาดน้ำมันไม่สามารถกวาดน้ำมันลงกลับไปที่อ่างน้ำมันเครื่องได้หมด แต่กลับหลุดรอดเข้าไปในห้องเผาไหม้ได้ จากการที่แรงอัดในกระบอกสูบมีมาก และแหวนกันกำลังอัดรั่วไม่สามารถทนต่อแรงอัดที่เพลาข้อเหวี่ยงดันอัดลูกสูบ ซึ่งอาจเกิดจากแหวนอัดสึก หรือกระบอกสูบสึก ทำให้น้ำมันเครื่องหลุดเข้าห้องเผาไหม้ได้ คือน้ำมันเครื่องถูกอัดจากล่างขึ้นบน

2. ตัวแหวนลูกสูบมีความชำรุดเสียหาย แตกหัก แข็งขาดความยืดหยุ่น เนื่องจากเกิดความร้อนจัด หรืออายุการใช้งานที่นานเกินไป

3. เครื่องยนต์ร้อนจัดบ่อยๆ จากการที่น้ำหม้อน้ำขาด น้ำมันเครื่องขาด จนฝาสูบกับเสื้อสูบโก่งตัว  ซีลฝาสูบไม่สามารถกั้นหรือทนต่อแรงอัดน้ำมันเครื่องได้ จนน้ำมันเครื่องหลุดเข้าไปในห้องเผาไหม้ได้   ทุกครั้งที่เปลี่ยนซีลฝาสูบ และอัดน๊อตเข้าไปแล้ว จะเป็นซีลใหม่ ซ่อมใหม่ หรือซีลเก่า ก็ตาม ถ้าคลายน๊อตออก เอาซีลออกมา ซีลนั้นก็ไม่ควรนำใส่กลับเข้าไปใหม่ เมื่อถอดออกก็ต้องเอาอันใหม่ใส่ เพื่อขันน๊อตเข้าไปใหม่ ถ้าเอาซีลออกมาแล้วขันน๊อตกลับไปใหม่ ซีลนั้นอาจรั่วได้

4. น้ำมันเครื่องอาจรั่วมาจากด้านบน คือน้ำมันเครื่องที่อยู่ในฝาครอบวาวล์ รั่วลงมาผ่านก้านวาวล์ ซีลก้านวาวล์ไอดี สึกหลวม รั่วลงผ่านวาวล์ ไอดี จากวาวล์ยัน วาวล์กับบ่าวาวล์ปิดไม่สนิท  หรือการเปิดปิด วาวล์ ไอดี /ไอเสีย ผิดพลาด จากการผิดเพี้ยนของจังหวะจุดระเบิด ตำแหน่งของสายพานไทม์มิ่งที่ผิดเพี้ยนไป

ควันขาวของเครื่องยนต์ เกิดจากการเผาไหม้น้ำมัน กับน้ำมันเครื่องร่วมกัน ที่อุณหภูมิการเผาไหม้ ไม่ถึงจุดที่ทำให้การเผาไหม้สมบูรณ์ และเมื่อเผาไหม้แล้ว ควันที่ออกปลายท่อไอเสีย เจออุณหภูมิต่ำกว่า และความชื้น ทำให้กลายเป็นควันขาว

ควันดำ เกิดจากการเผาไหม้ที่ไม่สมบูรณ์ คือเชื้อเพลิงมีมากกว่าอากาศในห้องเผาไหม้ สัดส่วนระหว่างเชื้อเพลิงต่ออากาศไม่พอดี จึงเกิดควันดำ

สาเหตุที่ทำให้ส่วนผสมเชื้อเพลิงต่ออากาศไม่พอดี

เครื่องยนต์ดีเซล   -  ปั๊มดีเซลหลวม กำลังอัดน้อย แรงดันปั๊มน้ำมันดีเซลน้อย การควบคุมแรงดันน้ำมันในรางคอมมอนเรล ไม่คงที่

                        -  หัวฉีดน้ำมันดีเซลอุดตัน น้ำมันดีเซลที่ออกปลายหัวฉีดไม่แตกเป็นฝอย มีลักษณะเป็นหยด จังหวะการเปิด / ปิด  วาวล์ไอดี หรือเรียก ลิ้นไอดี ผิดพลาด เปิดนานปิดเร็วทำให้การฉีดเชื้อเพลิงไม่ตรงกับจังหวะการจุดระเบิด แรงดันน้ำมันในหัวฉีดมีไม่พอ

                        -  มีเศษผงคราบเขม่าภายใน่ท่อไอเสียมาก

                        -  กำลังอัดรั่วภายในกระบอกสูบ 

                        -  อากาศเข้าห้องเผาไหม้น้อย ลิ้นปีกผีเสื้อติดขัดเปิด - ปิด ได้ไม่เต็มที่

                        -  เซนเซอร์ตรวจวัดอากาศ เซนเซอร์อุณหภูมิ อ๊อกซิเจนเซนเซอร์เสีย

 

รถติดแก๊สดูแลอย่างไร

รถติดแก๊สดูแลอย่างไร อันตรายไหม ใช้แก๊สแล้วเครื่องยนต์พังหรือเปล่า ตรงนี้มีคำตอบ

สิ่งแรก รถยนต์ที่ติดตั้งแก๊ส ไม่ว่าเป็น LPG หรือ CNG มีความปลอดภัยแน่นอน แต่ก็ต้อง MAINTAINANCE ดูแลบำรุงรักษาตามระยะสม่ำเสมอ จุดที่ต้องดูแลเกี่ยวกับความปลอดภัยคือ

 - อุปกรณ์ท่อแก็ส ท่ออ่อนแก๊ส ที่เป็นท่อยาง LPG / CNG ว่าแข็งหรือยัง ท่อยางปกติจะนิ่ม สามารถจับกดบีบได้ แต่ถ้าท่อยางเสื่อมสภาพจากการรองรับปฏิกริยาจากแก๊ส จากความร้อน จากอายุการใช้งานของท่อยางเอง  ท่อยางจะแข็งมาก แข็งเป็นไม้เลย และผลเสียที่อาจเกิดขึ้นคือ อาจเกิดการแตกร้าวได้ เป็นสาเหตุให้แก๊สรั่วจากระบบ 

- นอกจากท่อยางอาจเสื่อมสภาพ จุดที่ควรตรวจเช็คต่อมาคือ ตามจุดเชื่อมต่อท่อยางอ่อนแก๊ส เข้ากับอุปกรณ์หม้อลดแรงดันแก๊ส กรองแก๊สแห้ง  หัวฉีดแก๊ส จุดที่ต่อกับ แม๊ปเซนเซอร์ จุดเชื่อมต่อเหล่านี้มีเข็มขัดโลหะเป็นตัวรัดให้แน่น ซึ่งเข็มขัดโลหะที่บาง อาจบาดท่ออ่อนแก๊สให้ฉีกขาดเป็นรอยตามแนวตัวรัดได้ และทำให้แก๊สรั่วจากระบบได้

- การดูแลตรวจสอบเช็คแก๊สรั่วจากที่กล่าวมา สามารถตรวจสอบได้ด้วยการ มองดู คือใช้สายตาไล่ไปตามท่อยางอ่อนของแก๊ส จากหม้อลดแรงดันแก๊ส ต่อไปยังกรองแห้งแก๊ส ต่อไปยังหัวฉีดแก๊ส ต่อไปยังท่อยางหัวฉีดแก๊สตรงไปยังท่อไอดี   และใช้การดมกลิ่นแก๊ส คุณสมบัติของแก๊ส LPG คือมีกลิ่น ขณะที่คุณสมบัติของแก๊ส CNG ไม่มีกลิ่น detect ยาก ดังนั้นการตรวจสอบแก๊สรั่วสามารถใช้วิธีคือใช้น้ำสบู่หยอดตามจุดเชื่อมต่อท่อในแต่ละอุปกรณ์แก๊สเพื่อดูการรั่วซึมของแก๊สได้ ถ้าแก๊สรั่วซึมจากอุปกรณ์ใดๆ จะมีฟองออกมาให้เห็น ถึงแม้รั่วเพียงเล็กน้อยก็สามารถมองเห็นได้

- และถ้าไม่มั่นใจเกี่ยวกับการรั่วของแก๊ส ผู้ขับขี่สามารถที่จะปิดถังแก๊สได้ด้วยตนเอง โดยการปิดวาวล์ที่ถังแก๊สโดยการหมุนตามเข็มนาฬิกา แก๊สก็จะไม่ออกจากถังอีก อาจได้กลิ่นแก๊สอีกสักพักจากแก๊สที่คงเหลือในหม้อลดแรงดันแก๊ส

 

รถติดแก๊สมี 2 ระบบ คือระบบดูด กับระบบหัวฉีด แก๊สปัจจุบันเกือบทั้งหมดเป็นระบบหัวฉีด อุปกรณ์แก๊สในระบบหัวฉีดเป็นระบบปิด คืออุปกรณ์แต่ละตัวเชื่อมต่อกันโดยท่อแก๊สที่หมุนปิดโดยเกลียว เหมือนก๊อกท่อประปา ถ้าก๊อกถูกขันไม่แน่น น้ำก็รั่วซึมออกมาได้ การแก้ไขคือการขันให้แน่นขึ้น น้ำก็หยุดรั่วซึม แก๊สก็เช่นเดียวกัน จุดเชื่อมต่อท่อแดงจะใช้เกลียวน๊อตเป็นตัวหมุนปิดล็อคท่อแก๊สกับอุปกรณ์แก๊ส โอกาสที่แก๊สรั่วจากจุดท่อทองแดงน้อยมาก ถ้าหากไม่เกิดการแตกหัก ฉีดขาดของท่อทองแดง ซึ่งมีอุปกรณ์ในการตัดการรั่วของแก๊สจำนวนมากคือวาวล์ที่ถังแก๊ส ถ้าแก๊สรั่วมากจากการที่ท่อแก๊สขาดวาวล์ที่ถังแก๊สมีระบบตัดการไหลของแก๊สไม่ให้ออกจากถังแก๊สโดยอัตโนมัติ

 

 

KIT PACKAGE

Versue Gas
AC autogaz
lovato
Banner  ENERGY
banner Ag
banner bsm
banner autronic
leaf

ราคาน้ำมันวันนี้

กรมขนส่งทางบก

KBank
vinyl